07 การจัดการสต็อกสินค้า
การจัดการสต็อกสินค้า ให้มีจำนวนที่เหมาะสม กล่าวคือ ไม่มากและไม่น้อยไป เพียงพอต่อการขาย จะทำให้ร้านมีเงินทุนหมุนเวียนและช่วยลดต้นทุนจากสินค้าหมดอายุ
ทำไมต้องจัดการสต็อกสินค้า?
เพื่อจะรู้ว่าสินค้าในสต็อกเหลือเท่าไหร่
เพื่อให้รู้ว่าสินค้าตัวไหนขายดีที่สุด สินค้าตัวไหนขายยาก
เพื่อให้รู้ว่าสินค้าตัวไหนที่สร้างกำไร
เพื่อลดการสูญเสีย หรือสูญหายของสินค้า
เพื่อทำให้รู้ว่าเมื่อไหร่ควรสั่งสินค้าเพิ่มเติม
เริ่มต้นจัดการสต็อกสินค้ากัน!
- การนับสต็อกสินค้าเป็นประจำ
- ทำบันทึกการซื้อขายสินค้า
- ใช้เทคนิคการจัดสต็อกแบบ FIFO
- จัดวางสต็อกสินค้าให้เป็นระเบียบ
- คำนวณระยะเวลาในการสั่งซื้อสินค้า
- สินค้า 1 รายการ อยู่บนพื้นที่ขาย 80% และอยู่พื้นที่เก็บสต็อก 20%
- จำนวนสต็อกสินค้าที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 1.5 เท่า ของจำนวนที่ขายได้
ตัวช่วยสำหรับจัดการสต็อกสินค้า
เครื่อง POS ระบบขายหน้าร้านที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณทำการซื้อ-ขายได้สะดวกมากยิ่งขึ้น มีการเก็บประวัติการขายสินค้า และจำนวนสินค้าคงเหลือภายในร้าน
ระบบคิดเงินอย่างแม่นยำ ลดปัญหาคิดเงินผิด
เก็บประวัติการขายสินค้าแต่ละช่วงเวลา
บอกข้อมูลสินค้าคงเหลือภายในร้านแต่ละรายการ
คำนวณภาษีที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้า
ทำระบบสมาชิกให้กับร้านค้าได้
คำนวนระยะเวลาในการสั่งสินค้า
ระยะเวลาในการสั่งซื้อสินค้า หรือ จุดสั่งซื้อ คือ จุดเตือนว่าร้านค้าต้องสั่งซื้อสินค้าล็อตใหม่เข้ามาแล้ว ซึ่งถ้าหากสั่งซื้อ ณ จุดนี้ จะทำให้เรามีสินค้าเข้ามาในสต็อกทันเวลา ไม่มาเร็วจนขายไม่ทัน หรือ
มาช้าเกินไปจนไม่มีสินค้าขาย
สต็อก/ขาย | จันทร์/22 | อังคาร/23 | พุธ/24 | พฤหัสบดี/25 | ศุกร์/26 | เสาร์/27 | อาทิตย์/28 |
สต็อกคงเหลือ | 60 | 40 | 20 | 60 | 40 | 20 | 60 |
ขายวันละ | 20 | 20 | 20 | 20 | 20 | 20 | 20 |
จุดสั่งซื้อ | จุดสั่งซื้อ |
- ร้านขายซีอิ๊วปรุงรสได้วันละ 20 ขวด
- สั่งซื้อ 1 ครั้ง ใช้เวลา 3 วัน
- สต็อกขั้นต่ำที่ควรมีติดร้าน ?
การจัดการบัญชีสต็อกสินค้าคืออะไร?
1. สินค้าคงเหลือ
- หมายถึง สต๊อกสินค้าที่เก็บไว้ยังขายไม่ออก (ถ้ามีในปริมาณไม่มากไม่น้อยเกินไปคงจะไม่มีปัญหาอะไร )
- แต่ถ้ามีสินค้าล้นสต๊อกเงินที่สะสมไว้จะมาจมอยู่ในสินค้าเหล่านี้แบบไม่รู้ตัว
- เพราะสินค้าคงเหลือเป็นสินทรัพย์ประเภทนึง
2. ต้นทุนขาย
- หมายถึง ต้นทุนสินค้าที่เราขายออกไปให้ลูกค้าแล้ว ตามหลักการบัญชีเมื่อมีรายได้ก็จะต้องมีต้นทุนขายเกิดขึ้น
- แต่ถ้าตั้งราคาขายต่ำกว่าต้นทุนจะทำให้เราขาดทุนในงบการเงิน
- สินค้าคงเหลือเมื่อมีการขายออกไปให้ลูกค้า จะย้ายมาอยู่ในงบกำไรขาดทุน เรียกว่า ต้นทุนขาย
3. ค่าใช้จ่าย
- หมายถึง รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจะถูกบันทึกบัญชีเป็นต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุน
- แต่ถ้ามีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น เช่น สินค้าเสียหายเกินมาตรฐาน ของหาย หรือของชำรุด แบบนี้เรียกว่างานเข้า ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าในงบการเงิน
- ค่าใช้จ่ายตัวนี้เรียกชื่อเต็มๆ ว่า “ค่าใช้จ่ายในการบริหาร”